Friday, October 12, 2007
UNDERSTANDING DESIGN CONCEPT
หมดคอร์สแล้ว! เป็นประโยคแรกที่ถูกยิงเข้ามาในหัวของผม เราเหมือนต้องการเวลามากกว่านี้อีกสำหรับวิชานี้มันเป็นวิชาที่ได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เวลามันช่างไม่เคยรออะไรเลย ก่อนอื่นเลยผมต้องขอบอกเลยว่าก่อนที่จะเลือกลงวิชานี้ผมไม่รู้อะไรเลยว่าจะต้องเรียนอะไรแล้วเรียนทำไมและวิชานี้คืออะไร แต่เมื่อเรียนครั้งแรกผมก็ยังงงๆอยู่ว่าอะไรว่ะเนี่ย ทำไมมันงงบวกมึนขนาดนี้ แต่พอเรียนไปซัก 2 ครั้ง ผมก็เริ่มเข้าใจถึงวิธีการเรียบเรียงวิเคราะห์กระบวนทางความคิด การที่เราจะถอดเปลือกมันออก การที่จะเข้าไปถึงแก่นของมัน ผมว่าวิชานี้เหมาะที่จะเป็นตัวหลักอีกตัวที่ต้องเรียนด้วยซ้ำ เพราะคิดว่ามันสำคัญมากนะกับเรื่องกระบวนการทางความคิดเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นการที่เราพบเจอหรือเสพย์สื่ออะไรต่างๆนาๆ ที่ดีและไม่ดีในสังคมเราในปัจจุบัน การที่เรามีความคิดในการที่จะตีแผ่มันออกมาแล้ววิเคราะห์มันว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นแก่นและเปลือก หรือบางครั้งมันอาจจะทำให้คุณหยุดคิดกับเรื่องที่คุณไม่เคยคิดมาก่อนเลยก็ได้ มันไม่ใช่แค่อยู่ในความคิดในการออกแบบมันเหมือนเป็นไกด์ที่ช่วยคุณในการดำรงค์ชีวิตเพื่อไม่ให้ตกอยู่ภายใต้สิ่งเร้าต่างๆเปลือกต่างๆหรือมันอาจะช่วยให้คุณมองสิ่งต่างๆในมุมมองที่แตกต่างออกไป สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณอาจารย์ติ๊ก มากๆที่ทำให้กระบวนการทางความคิดของผมแตกต่างไปจากเดิม เกิดมุมมองใหม่ๆตลอดทุกครั้งที่หมดในวันพุธ มันทำให้ผมเข้าใจตัวเองมากขึ้น เลิกทำตัวเชื่อยชาซะทีแล้วลงมือทำกับสิ่งที่อยากทำได้แล้วและทำให้รู้ว่าเราโลกนี้มันช่างกว้างใหญ่เพียงใด ผมจะนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปพัฒนาตัวเองและมันสมองของผม มันน่าเสียดายนะที่รุ่นน้องของพวกผมจะไม่ได้มีโอกาสเรียนวิชานี้ ( อาจารย์บอกจะไม่เปิดแล้ว T_T ) ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ดีที่ปิดไปเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ขอให้รุ่นต่อๆไปได้เรียน ขอขอบคุณอาจารย์อีกทีครับ
Thursday, October 11, 2007
STATEMENT
เมื่อเรียนจบแล้วคุณจะทำอะไร ? นี่เป็นคำถามที่มีคนถามมากที่สุดในช่วงเวลา 1 เทอมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ตัวผมเองก็ยังไม่เคยคิดและก็ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองนั้นชอบอะไรจริงๆเมื่อผมเจอคำถามนี้บ่อยๆ ผมจึงคิดแล้วมองย้อนกลับไปที่ผ่านมาเราชอบอะไร และอะไรคือสิ่งที่เราต้องการใน 3-4 ปีที่ผ่านมา ผมชอบนะกับการที่เป็นนักออกแบบในสายวิชาที่เรียนมา แต่บางครั้งผมก็รู้สึกเหนื่อย ท้อ ว่าเราจะทำมันออกมาได้ดี หรือไม่ดี แต่เมื่อมาถึงวันนี้ผมก็รู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับการที่เราได้ลงแรงลงมือทำมัน แล้วเราก็ชอบมันและนี่แหล่ะเป็นสิ่งที่เราต้องการ สิ่งแรกที่ผมจะทำตอนเรียนจบ คือการจัดการตัวเองกับ portfolio ให้ออกมาดีที่สุด แล้วนำไปยื่นตามบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แล้วก็ขอให้มีงานทำในสายงานนี้ ไม่ว่าตำแหน่งเล็กที่สุดในบริษัทหรือตำแหน่งที่ใหญ่กว่านั้น ผมคิดว่านี่เป็นการออกตัวแบบช้าๆ ให้เราได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ทำให้เรามีรากฐานที่มั่นคง แล้วผมก็คิดว่าจะทำงานสัก 1-2 ปี เก็บเงินได้สักก้อนพอที่จะช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน เพื่อที่จะไปใช้ในระหว่างเรียนปริญญาโท ในต่างประเทศ เพราะผมคงไม่สามารถหาเงินค่าเทอมได้เองทั้งหมด ประเทศที่ผมชอบและคิดไว้มีหลายที่คือ เยอรมัน สวีเดน และอังกฤษ แต่อังกฤษคงไม่ใช่ตัวเลือกแรกของผม เป็นเพราะค่าเงินที่หนักหนา ยั่งกับไปเรียนนอกโลกแต่ถ้ามีโอกาสมันก็น่าคิดนะ ส่วนประเทศที่ผมอยากไปอันดับแรกคือ เยอรมันและสวีเดน เพราะผมชอบงานในแถบนั้น และเป็นอะไรที่เราไม่ค่อยเคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นบ้านเมือง หรือผู้คน และการใช้ชีวิต ทำให้ผมคิดได้ว่าสิ่งที่เราต้องทำตอนนี้ คือศึกษางานแถบนั้นให้มากๆ การเรียนภาษา แล้วก็หยุดคิดว่าเราจะไปเรียนต่ออะไร นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผมยังบอกตัวเองไม่ได้ว่าเราจะเรียนอะไร แต่จากการที่ได้ทำงานมันอาจจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าอะไรเหมาะกับเราจริงๆ แล้วอะไรที่เราจะต้องการเรียนต่อเมื่อได้ไปเรียนต่อปริญญาโทไม่ว่าจะที่ไหน พอจบมาก็คงเป็นวันนันเองที่ทำให้รู้จักเองและรู้ว่าตรงไหนที่ไหนเหมาะสมกับตัวเราจริงๆ ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นการคิดแบบไม่ค่อยดีนัก แต่สำหรับตัวผมนั้น มันสิ่งที่ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป ผมคิดว่าการที่เราจะเป็นนักออกแบบที่ดี ควรหาที่ ที่เหมาะสมกับตัวเรา และก้าวเดินอย่างช้าๆไม่ต้องรีบแบบก้าวกระโดดเหมือนที่หลายๆคนคิดแบบนั้น ผมคิดว่าการเริ่มจากรากหรือฐานของมันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
เมื่อส่ง statement อันนี้ไป อาจารย์ติ๊กก็ได้ให้คำถามกลับมาว่า " อย่างไร "
อย่างแรกผมก็ถามตัวเองว่าอะไรว่ะ อย่างไรอะไรว่ะแล้วก็มานั่งคิดๆดูมันก็จริงอย่างที่อาจารย์และเพื่อนๆในห้องได้คุยกัน การที่เราจะทำตามสิ่งที่เราต้องการนั้นเราต้องวางแผนและกำหนดทิศทางที่แน่นอนในการดำเนินชีวิตของเรา เราไม่อาจปฏิเสธเงินที่เป็นตัวทำให้เราอิ่มท้อง มันเป็นไปไมได้หรอกกับการที่เราจะมานั่งติสแดกไปวันๆแล้วจะมีอะไรแดก ( นอกจากจะรวยอยุ่แล้ว ) เมื่อเรามองย้อนกลับไปที่จุดหมายของเราคืออะไร คือการที่ได้ทำงานเป็นนักออกแบบจบปริญญาโทจากต่างประเทศอย่างที่เขียนไว้ใน statement ข้างต้น เราก็ต้องบ่มฟักตัวเองตั้งแต่วินาทีนี้เลย ( จริงๆแล้วมันอาจจะช้าไปหน่อยด้วยซ้ำ ) เรียนภาษาให้แข้งแรงเข้าไว้ ทำงานศึกษาอย่างหนักเพื่อที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ รวมไปถึงการสร้าง connection ต่างๆ ที่เราสามารถจะไปแปะอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้ ทำ portfolio ให้ดีที่สุดเพื่อไปยื่นตามบริษัทต่างๆ เพื่อมีงานทำก่อนนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรา ต่อมาการเก็บเงินเป็นสิ่งที่สำคัญเราต้องอดทนกับสิ่งเร้าที่จะเกิดขึ้นรอบๆตัวเราให้ได้ สว่นเรื่องการเลือกวิชาโท นั้นก็คงเป็นบางอย่างที่อยู่สายวิชาการออกแบบเพราะผมยังไม่รู้แน่ชัดว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ สื่อสิ่งพิมพ์ก็ชอบ new mediaก็ชอบ โฆษณาก็ดี การที่เราได้เข้าไปทำงานคงทำให้ผมรู้ว่าอะไรเหมาะกับตัวเองที่สุดและนั่นจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการตัดสินใจเลือกวิชาในการเรียนต่อของผม เพราะเราต้องรู้ว่าโอกาสมันก็ไม่ได้วิ่งมาชนเราเสมอเราต้องขวนขวายและเตรียมพร้อมรอมันมาหาเรา
เมื่อส่ง statement อันนี้ไป อาจารย์ติ๊กก็ได้ให้คำถามกลับมาว่า " อย่างไร "
อย่างแรกผมก็ถามตัวเองว่าอะไรว่ะ อย่างไรอะไรว่ะแล้วก็มานั่งคิดๆดูมันก็จริงอย่างที่อาจารย์และเพื่อนๆในห้องได้คุยกัน การที่เราจะทำตามสิ่งที่เราต้องการนั้นเราต้องวางแผนและกำหนดทิศทางที่แน่นอนในการดำเนินชีวิตของเรา เราไม่อาจปฏิเสธเงินที่เป็นตัวทำให้เราอิ่มท้อง มันเป็นไปไมได้หรอกกับการที่เราจะมานั่งติสแดกไปวันๆแล้วจะมีอะไรแดก ( นอกจากจะรวยอยุ่แล้ว ) เมื่อเรามองย้อนกลับไปที่จุดหมายของเราคืออะไร คือการที่ได้ทำงานเป็นนักออกแบบจบปริญญาโทจากต่างประเทศอย่างที่เขียนไว้ใน statement ข้างต้น เราก็ต้องบ่มฟักตัวเองตั้งแต่วินาทีนี้เลย ( จริงๆแล้วมันอาจจะช้าไปหน่อยด้วยซ้ำ ) เรียนภาษาให้แข้งแรงเข้าไว้ ทำงานศึกษาอย่างหนักเพื่อที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ รวมไปถึงการสร้าง connection ต่างๆ ที่เราสามารถจะไปแปะอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้ ทำ portfolio ให้ดีที่สุดเพื่อไปยื่นตามบริษัทต่างๆ เพื่อมีงานทำก่อนนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรา ต่อมาการเก็บเงินเป็นสิ่งที่สำคัญเราต้องอดทนกับสิ่งเร้าที่จะเกิดขึ้นรอบๆตัวเราให้ได้ สว่นเรื่องการเลือกวิชาโท นั้นก็คงเป็นบางอย่างที่อยู่สายวิชาการออกแบบเพราะผมยังไม่รู้แน่ชัดว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ สื่อสิ่งพิมพ์ก็ชอบ new mediaก็ชอบ โฆษณาก็ดี การที่เราได้เข้าไปทำงานคงทำให้ผมรู้ว่าอะไรเหมาะกับตัวเองที่สุดและนั่นจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการตัดสินใจเลือกวิชาในการเรียนต่อของผม เพราะเราต้องรู้ว่าโอกาสมันก็ไม่ได้วิ่งมาชนเราเสมอเราต้องขวนขวายและเตรียมพร้อมรอมันมาหาเรา
IMAGINATION
จินตนาการในความคิดของผม ผมคิดว่าจินตนาการนั้นเริ่มต้นที่ความฝัน เหมือนกับว่าเราคิดอะไรก็ได้ไม่มีขีดจำกัด จะมีสาระหรือจะเกินจริงเหนือธรรมชาติแค่ไหนก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความคิดความสามารถของแต่ละคน รวมถึงบริบทรอบๆตัวเราระหว่างนั้น จะเป็นตัวกำหนดทิศทางทางความคิดของแต่ละบุคคล ด้วยการรับรู้ที่ต่างกันคนเราย่อมมีจินตนาการที่แตกต่างกันออกไป เราไม่สามารถที่จะกำหนดวิธีการตายตัวของจินตนาการได้ ประสบการณ์และการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการวิเคราะห์หรือเรียบเรียงกระบวนการทางความคิด
จินตนาการ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นคำที่อยู่ภายในกลุ่มของ จินต- , จินต์ ซึ่งเป็นคำกริยา ที่แปลว่า คิด ส่วนคำ จินตนาการ เป็นคำนาม แปลว่า การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ
เมื่อย้อนกลับไปที่คำถามว่าคุณเคยเจอกับจินตนาการมั้ย ?
ส่วนผมนั้นผมคิดว่าผมเคยเจอนะ ครั้งหนึ่งผมเคยได้มีโอกาสไปแข่งเกมส์ ( Counter strike เป็นเกมส์ first person shooting ) ในฐานะตัวแทนทีมชาติไทย เราจับฉลากอยู่สายเดียวกับ Sweden ( เป็นที่ 1 ของโลกอยู่ในขณะนั้น ) ก่อนการแข่งขันผมตื่นเต้น ทั้งอยากจะลองวัดฝีมือกันซักตั้งแต่ลึกๆแล้วผมก็กลัวนะ แต่ผมก็คิดว่าไหนๆก็มาถึงนี่แล้วลองกันซักทีไม่แน่นะโชคอาจอยู่ข้างเรา เมื่อถึงเวลาแข่งขันๆจริงๆ ผมก็มีความรู้สึกแบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออกมือไม้สั่นเหงื่อแตกไปหมด บางครั้งมันก็รู้สึกเฮ้ยหน้าอกเรานี่มีธงไตรรงค์แปะอยู่นะจะให้มันมาดูถูกเราตั้งแต่ยังไม่เริ่มได้ยังไง เมื่อเกมส์เริ่มขึ้นสถานการณ์กดดันกลับไปตกอยู่ที่แชมป์โลกเพราะเรานำไปก่อน 5-0 ( เล่นทั้งหมด 30 win ) การที่นำไปก่อน 5-0 ในเกมส์นี้ถือว่าเป็นอะไรที่ได้เปรียบเยอะ แล้วจินตนาการของผมก็เริ่มเกิดขึ้น บวกกับบริบทรอบข้าง ( คนเชียร์เยอะเพราะไม่มีใครคิดว่าไทยสามารถทำได้ขนาดนี้ ) กำลังใจเริ่มมาเพียบ ผมก็คิดว่าเราน่าจะเอาอยู่เราน่าจะชนะพวกนี้ได้ไม่ยากเกินความสามารถ ผมเริ่มตะโกนบอกเพื่อนผมว่า " เฮ้ยเราจะชนะ อย่าไปกลัวมัน " ตรงนี้แหล่ะที่ผมคิดว่ามันจินตนาการ มันมีการบวกกับบริบทต่างๆรอบข้าง ทำให้เกิดทางที่จะเป็นไปได้ หัวสมองผมก็เริ่มคิดไป แต่สุดท้ายเราก็เอาไม่อยู่แพ้ไปแต่มันก็เป็นแมตช์ที่น่าจดจำและทำให้มีการพัฒนาต่างๆมากมาย
จินตนาการตรงนี้ผมคิดว่ามันเป็นการประเมินผลและคาดหวังกับสิ่งที่จะเป็นไปได้ จากบริบทต่างๆที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดการคิดวาดภาพในหัวสมองว่าเราสามารถทำให้มันเป็นจริงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำว่าจินตนาการกับคำว่าเพ้อฝันมันมีแค่เส้นบางๆกั้นอยู่จนบางครั้งเราสับสนกับมัน
จินตนาการ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นคำที่อยู่ภายในกลุ่มของ จินต- , จินต์ ซึ่งเป็นคำกริยา ที่แปลว่า คิด ส่วนคำ จินตนาการ เป็นคำนาม แปลว่า การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ
เมื่อย้อนกลับไปที่คำถามว่าคุณเคยเจอกับจินตนาการมั้ย ?
ส่วนผมนั้นผมคิดว่าผมเคยเจอนะ ครั้งหนึ่งผมเคยได้มีโอกาสไปแข่งเกมส์ ( Counter strike เป็นเกมส์ first person shooting ) ในฐานะตัวแทนทีมชาติไทย เราจับฉลากอยู่สายเดียวกับ Sweden ( เป็นที่ 1 ของโลกอยู่ในขณะนั้น ) ก่อนการแข่งขันผมตื่นเต้น ทั้งอยากจะลองวัดฝีมือกันซักตั้งแต่ลึกๆแล้วผมก็กลัวนะ แต่ผมก็คิดว่าไหนๆก็มาถึงนี่แล้วลองกันซักทีไม่แน่นะโชคอาจอยู่ข้างเรา เมื่อถึงเวลาแข่งขันๆจริงๆ ผมก็มีความรู้สึกแบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออกมือไม้สั่นเหงื่อแตกไปหมด บางครั้งมันก็รู้สึกเฮ้ยหน้าอกเรานี่มีธงไตรรงค์แปะอยู่นะจะให้มันมาดูถูกเราตั้งแต่ยังไม่เริ่มได้ยังไง เมื่อเกมส์เริ่มขึ้นสถานการณ์กดดันกลับไปตกอยู่ที่แชมป์โลกเพราะเรานำไปก่อน 5-0 ( เล่นทั้งหมด 30 win ) การที่นำไปก่อน 5-0 ในเกมส์นี้ถือว่าเป็นอะไรที่ได้เปรียบเยอะ แล้วจินตนาการของผมก็เริ่มเกิดขึ้น บวกกับบริบทรอบข้าง ( คนเชียร์เยอะเพราะไม่มีใครคิดว่าไทยสามารถทำได้ขนาดนี้ ) กำลังใจเริ่มมาเพียบ ผมก็คิดว่าเราน่าจะเอาอยู่เราน่าจะชนะพวกนี้ได้ไม่ยากเกินความสามารถ ผมเริ่มตะโกนบอกเพื่อนผมว่า " เฮ้ยเราจะชนะ อย่าไปกลัวมัน " ตรงนี้แหล่ะที่ผมคิดว่ามันจินตนาการ มันมีการบวกกับบริบทต่างๆรอบข้าง ทำให้เกิดทางที่จะเป็นไปได้ หัวสมองผมก็เริ่มคิดไป แต่สุดท้ายเราก็เอาไม่อยู่แพ้ไปแต่มันก็เป็นแมตช์ที่น่าจดจำและทำให้มีการพัฒนาต่างๆมากมาย
จินตนาการตรงนี้ผมคิดว่ามันเป็นการประเมินผลและคาดหวังกับสิ่งที่จะเป็นไปได้ จากบริบทต่างๆที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดการคิดวาดภาพในหัวสมองว่าเราสามารถทำให้มันเป็นจริงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำว่าจินตนาการกับคำว่าเพ้อฝันมันมีแค่เส้นบางๆกั้นอยู่จนบางครั้งเราสับสนกับมัน
Tuesday, June 26, 2007
บุหรี่
จากการที่ได้วิเคราะห์ในห้องเรียนจากมุมมองของผม ผมคิดว่าจุดประสงค์ที่จัดทำหรือข้อความหรือภาพนั้น ไม่ได้ต้องให้ผู้ที่สูบบุหรีอยู่แล้วคิดจะเลิกสูบ การที่บางคนนั้นเลิกสูบไปเพราะอาจจะเกิดจากความกลัวที่เกิดในช่วงเวลาแรกๆ ที่เห็นภาพนั้นๆ ส่วนอีก 2 ประเด็นที่น่าจะสำคัญกว่า คือ
1.การปลูกฝังเห็นถึงพิษภัยของบุหรี่สู่เยาวชนรุ่นหลังเพราะมันเป็นการโฆษณาที่ได้ผลโดยตรงสู่ผู้บริโภคและประหยัดงบของรัฐ
2.น่าจะเป็นการจุดประเด็นต่างๆที่ทางรัฐต้องการให้สิ่งนี้เป็นตัวเปิด เช่น กระตุ้นการรณรงค์หรือมีการพูดถึงบุหรี่มากขึ้น คนที่ไม่สูบบุหรี่เข้าใจและป้องกันตัวเองมากขึ้น เช่น การแบ่งพื้นที่สูบบุหรี่ รวมไปถึงคนที่สูบตระหนึกถึงคนที่ไม่สูบ
ประเด็นในการออกแบบ ซองบุหรี่
ตามความคิดของผมรวมความคิดของเพื่อนบางคนในห้อง คือ ต้องเป็นการออกแบบที่เข้าใจและเข้าถึงง่าย มีผลกระทบต่อจิตใจตั้งแต่แรกเห็น มีการเปลี่ยนรุปแบบอยู่เสมอๆเพื่อไม่ให้เกิดความเคยชิน ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมต้องมีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลกับผู้ผลิต
ความเห็นส่วนตัวกับการออกแบบนั้น ผมคิดว่า รูปแบบภาพที่มีอยุ่แล้วอาจจะขยายใหญ่ขึ้นหรือเปลี่ยนภาพให้น่าเกียจกว่านี้ ส่วนพลาสติกที่หุ้มอยุ่ภายนอกอาจจะทำเป็นลายที่สวยงามเช่น ภาพชีวิตที่มีสุข หรือซองบุหรี่ที่สวยงามของ brand นั้นๆ ที่ตรงกันข้ามกับด้านใน เพื่อให้เห็นถึงเวลาที่คุณจะแกะบุหรี่สูบนั้นได้เห็นถึงพิษภัยของมันที่อยู่ด้านใน อาจจะทำให้เกิดการฉุกคิดมากขึ้นแล้วบอกถึงว่าด้านในมีอันตรายแค่ไหน
แต่ทั้งหมดนี้การที่จะลดการสูบบุหรี่ของคนไทยก็น่าจะขึ้นอยุ่กับภาษีของรัฐบาลและอัตราของค่าบุหรี่
ที่ทางรัฐเป็นตัวกำหนดอย่างที่ได้คุยกับอาจารย์หลังเลิกเรียน
1.การปลูกฝังเห็นถึงพิษภัยของบุหรี่สู่เยาวชนรุ่นหลังเพราะมันเป็นการโฆษณาที่ได้ผลโดยตรงสู่ผู้บริโภคและประหยัดงบของรัฐ
2.น่าจะเป็นการจุดประเด็นต่างๆที่ทางรัฐต้องการให้สิ่งนี้เป็นตัวเปิด เช่น กระตุ้นการรณรงค์หรือมีการพูดถึงบุหรี่มากขึ้น คนที่ไม่สูบบุหรี่เข้าใจและป้องกันตัวเองมากขึ้น เช่น การแบ่งพื้นที่สูบบุหรี่ รวมไปถึงคนที่สูบตระหนึกถึงคนที่ไม่สูบ
ประเด็นในการออกแบบ ซองบุหรี่
ตามความคิดของผมรวมความคิดของเพื่อนบางคนในห้อง คือ ต้องเป็นการออกแบบที่เข้าใจและเข้าถึงง่าย มีผลกระทบต่อจิตใจตั้งแต่แรกเห็น มีการเปลี่ยนรุปแบบอยู่เสมอๆเพื่อไม่ให้เกิดความเคยชิน ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมต้องมีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลกับผู้ผลิต
ความเห็นส่วนตัวกับการออกแบบนั้น ผมคิดว่า รูปแบบภาพที่มีอยุ่แล้วอาจจะขยายใหญ่ขึ้นหรือเปลี่ยนภาพให้น่าเกียจกว่านี้ ส่วนพลาสติกที่หุ้มอยุ่ภายนอกอาจจะทำเป็นลายที่สวยงามเช่น ภาพชีวิตที่มีสุข หรือซองบุหรี่ที่สวยงามของ brand นั้นๆ ที่ตรงกันข้ามกับด้านใน เพื่อให้เห็นถึงเวลาที่คุณจะแกะบุหรี่สูบนั้นได้เห็นถึงพิษภัยของมันที่อยู่ด้านใน อาจจะทำให้เกิดการฉุกคิดมากขึ้นแล้วบอกถึงว่าด้านในมีอันตรายแค่ไหน
แต่ทั้งหมดนี้การที่จะลดการสูบบุหรี่ของคนไทยก็น่าจะขึ้นอยุ่กับภาษีของรัฐบาลและอัตราของค่าบุหรี่
ที่ทางรัฐเป็นตัวกำหนดอย่างที่ได้คุยกับอาจารย์หลังเลิกเรียน
Wednesday, June 13, 2007
Understanding
มีด ค้นพบครั้งแรกราว 30,000 ปี ตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ โดยวัสดุที่ใช้ทำมีดจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย
มีด ในยุคแรกๆ มักทำจากกระดูกหรือหิน ที่กระเทาะให้มีความแหลมคมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ โดยมีหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ต่อมาก็จะเป็นใน ยุคของมีดสำริด ทำจากวัสดุสำริด ขึ้นรูปโดยการหล่อและการตี มักพบตามแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ซึ่งเป็นสายแร่ทองแดงเช่น แหล่งโบราณคดีภูโล้น ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีช่วงอายุประมาณ 3,750-3,425 ปี แหล่งโบราณคดี บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีพบการหล่อสัมฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 2,700-2,400 ปี แหล่งโบราณคดีในลุ่มน้ำมูล ที่มีการใช้สัมฤทธิ์ เช่นที่บ้านประสาท บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา มีแหล่งโบราณคดีแหล่งศูนย์การทหารปืนใหญ่ พบการใช้สำฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 3,000 ปี หลังจากนั้นก็จะเข้ามาในยุคของเหล็ก มีดในยุคของเหล็ก จะทำขึ้นจากเหล็ก โดยการตีขึ้นรูป เป็นวิธีการส่วนที่ใช้จนมาถึงปัจจุบัน มีดในสมัยปัจจุบัน รูปแบบต่างๆของมีด แบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น มีดทำครัว จะใช้สำหรับ หั่น สับ สำหรับงานในครัวส่วนใหญ่จะมีลักษณะบางและทำการจากวัสดุ แสตนเลส เพื่อป้องกันการสึกร่อนรวมไปถึงสนิม มีหลายขนาด แบ่งตามความเหมาะสมของการใช้งาน มีดต่อสู้ มีดพก จะมีลักษณะเป็น มีดพับ หรือ มีดใบตาย มักมีขนาดเล็กเพื่อสะดวกในการพกพา มีดทำสวนทำไร่ เป็นมีดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มักมีรูปทรงตามความนิยมในการใช้งานในแต่ละท้องถิ่น เช่น มีดปาดตาล มีดขอ มีดพร้า มีดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของการใช้งานในด้านต่างๆ มีด คือ เครื่องมือชนิดแรกๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์ หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว
จากการที่ได้เรียนรู้ถึงความเป็นมา ก็เห็นว่าไอเดียของการจะสร้างมีดขึ้นมานั้น น่าจะเกิดจากการความต้องที่จะตัดหรือหั่นสิ่งของ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ มีดแต่ละชนิดมีความต้องการในการใช้งานแตกต่างกันไป ไอเดียที่เกิดขึ้นเลยต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น มีดทำกับข้าว กับ มีดปลอกผลไม้ มีไอเดียที่ใกล้กันมากคือการหั่น ตัด หรือ ปลอก แต่คอนเซ็ป อาจจะต่างกันด้วยเงื่อนไขของการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการออกแบบตัวมีดให้มีขนาดแตกต่างกันไป เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เช่น มีดหั่นเนื้อ ต้องมีขนาดใหญ่เพื่อตัด หรือแล่ เพราะชิ้นเนื้อมีขนาดใหญ่และมีความเหนียวกว่าผลไม้ ในส่วนของมีดปลอกผลไม้ ตามคอนเซ็ปแล้วต้องมีขนาดเล็กเพื่อรองรับการปลอกผลไม้ที่มีขนาดพอดีมือ อาจจะมีปลายที่โค้งงอกว่า เพื่อให้เกิดความถนัดในการปลอก
สรุปว่า ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก ในส่วนไอเดียมีความใกล้เคียงกันมาก ทำให้เรามีมีดหลายแบบที่สำหรับใช้งานต่างกันไป
มีด การที่จะสร้างมีดขึ้นมานั้น น่าจะเกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการจะกระทำบางอย่างสู่วัตถุบางอย่างโดยการ ตัด หั่น สับ เฉือน ปาดหรือใช้เป็นอาวุธ เลยทำให้มีดต้องเป็นวัตถุบางอย่าง ที่เป็นของแข็งมีความคม สามารถจับถือได้มือเดียว นั้นคือวัตถุประสงค์หรือจุดประสงค์ของมีด เลยเกิดกระบวนการทางความคิดที่ต้องทำให้วัตถุที่มีความแข็งให้เกิดความคม ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและขีดจำกัดความสามารถทางความคิดของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย ทำให้เกิดเงื่อนไขในการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ในยุคแรกๆมีดอาจจะทำจากกระดูกหรือหินที่นำมากะเทาะให้เกิดความแหลมคม ส่วนในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเลยเกิดวัสดุใหม่ๆ เช่น สแตนเลสชุบสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดความคงทนคมนาน ทั้งหมดนี้ผมพูดถึงในจุดประสงค์เดียวกัน แต่ในปัจจุบันจุดประสงค์ คุณสมบัติและเงื่อนไขต่างๆเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความต้องการของมนุษย์ที่มีมากขึ้น ทำให้เกิดการออกแบบมีดที่แตกต่างกันแล้วแต่ความต้องการของมนุษย์ จึงเกิดเงื่อนไขในการออกแบบที่ต่างกัน เช่น มีดแกะสลักผลไม้ ต้องเป็นมีดที่มีน้ำหนักเบา ความคมอาจไม่ต้องมากแค่พอตัดขาดอาจจะมีปลายโค้งแหลมเพื่อใช้ในการเจาะซึ่งต่างจาก มีดสับเนื้อ ที่ต้องอาศัยความคมและมีน้ำหนัก เพื่อผ่อนแรงในการสับและมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ย้อนกลับไปที่จุดประสงค์เดิมคือต้องการ ตัด สับ หั่น เฉือน ปาด รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ต้องการและเงื่อนไขในการออกแบบที่ทำให้มีดถูกออกแบบมาใช้งานต่างกัน
มีด ในยุคแรกๆ มักทำจากกระดูกหรือหิน ที่กระเทาะให้มีความแหลมคมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ โดยมีหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ต่อมาก็จะเป็นใน ยุคของมีดสำริด ทำจากวัสดุสำริด ขึ้นรูปโดยการหล่อและการตี มักพบตามแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ซึ่งเป็นสายแร่ทองแดงเช่น แหล่งโบราณคดีภูโล้น ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีช่วงอายุประมาณ 3,750-3,425 ปี แหล่งโบราณคดี บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีพบการหล่อสัมฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 2,700-2,400 ปี แหล่งโบราณคดีในลุ่มน้ำมูล ที่มีการใช้สัมฤทธิ์ เช่นที่บ้านประสาท บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา มีแหล่งโบราณคดีแหล่งศูนย์การทหารปืนใหญ่ พบการใช้สำฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 3,000 ปี หลังจากนั้นก็จะเข้ามาในยุคของเหล็ก มีดในยุคของเหล็ก จะทำขึ้นจากเหล็ก โดยการตีขึ้นรูป เป็นวิธีการส่วนที่ใช้จนมาถึงปัจจุบัน มีดในสมัยปัจจุบัน รูปแบบต่างๆของมีด แบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น มีดทำครัว จะใช้สำหรับ หั่น สับ สำหรับงานในครัวส่วนใหญ่จะมีลักษณะบางและทำการจากวัสดุ แสตนเลส เพื่อป้องกันการสึกร่อนรวมไปถึงสนิม มีหลายขนาด แบ่งตามความเหมาะสมของการใช้งาน มีดต่อสู้ มีดพก จะมีลักษณะเป็น มีดพับ หรือ มีดใบตาย มักมีขนาดเล็กเพื่อสะดวกในการพกพา มีดทำสวนทำไร่ เป็นมีดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มักมีรูปทรงตามความนิยมในการใช้งานในแต่ละท้องถิ่น เช่น มีดปาดตาล มีดขอ มีดพร้า มีดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของการใช้งานในด้านต่างๆ มีด คือ เครื่องมือชนิดแรกๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์ หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว
จากการที่ได้เรียนรู้ถึงความเป็นมา ก็เห็นว่าไอเดียของการจะสร้างมีดขึ้นมานั้น น่าจะเกิดจากการความต้องที่จะตัดหรือหั่นสิ่งของ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ มีดแต่ละชนิดมีความต้องการในการใช้งานแตกต่างกันไป ไอเดียที่เกิดขึ้นเลยต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น มีดทำกับข้าว กับ มีดปลอกผลไม้ มีไอเดียที่ใกล้กันมากคือการหั่น ตัด หรือ ปลอก แต่คอนเซ็ป อาจจะต่างกันด้วยเงื่อนไขของการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการออกแบบตัวมีดให้มีขนาดแตกต่างกันไป เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เช่น มีดหั่นเนื้อ ต้องมีขนาดใหญ่เพื่อตัด หรือแล่ เพราะชิ้นเนื้อมีขนาดใหญ่และมีความเหนียวกว่าผลไม้ ในส่วนของมีดปลอกผลไม้ ตามคอนเซ็ปแล้วต้องมีขนาดเล็กเพื่อรองรับการปลอกผลไม้ที่มีขนาดพอดีมือ อาจจะมีปลายที่โค้งงอกว่า เพื่อให้เกิดความถนัดในการปลอก
สรุปว่า ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก ในส่วนไอเดียมีความใกล้เคียงกันมาก ทำให้เรามีมีดหลายแบบที่สำหรับใช้งานต่างกันไป
มีด การที่จะสร้างมีดขึ้นมานั้น น่าจะเกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการจะกระทำบางอย่างสู่วัตถุบางอย่างโดยการ ตัด หั่น สับ เฉือน ปาดหรือใช้เป็นอาวุธ เลยทำให้มีดต้องเป็นวัตถุบางอย่าง ที่เป็นของแข็งมีความคม สามารถจับถือได้มือเดียว นั้นคือวัตถุประสงค์หรือจุดประสงค์ของมีด เลยเกิดกระบวนการทางความคิดที่ต้องทำให้วัตถุที่มีความแข็งให้เกิดความคม ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและขีดจำกัดความสามารถทางความคิดของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย ทำให้เกิดเงื่อนไขในการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ในยุคแรกๆมีดอาจจะทำจากกระดูกหรือหินที่นำมากะเทาะให้เกิดความแหลมคม ส่วนในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเลยเกิดวัสดุใหม่ๆ เช่น สแตนเลสชุบสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดความคงทนคมนาน ทั้งหมดนี้ผมพูดถึงในจุดประสงค์เดียวกัน แต่ในปัจจุบันจุดประสงค์ คุณสมบัติและเงื่อนไขต่างๆเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความต้องการของมนุษย์ที่มีมากขึ้น ทำให้เกิดการออกแบบมีดที่แตกต่างกันแล้วแต่ความต้องการของมนุษย์ จึงเกิดเงื่อนไขในการออกแบบที่ต่างกัน เช่น มีดแกะสลักผลไม้ ต้องเป็นมีดที่มีน้ำหนักเบา ความคมอาจไม่ต้องมากแค่พอตัดขาดอาจจะมีปลายโค้งแหลมเพื่อใช้ในการเจาะซึ่งต่างจาก มีดสับเนื้อ ที่ต้องอาศัยความคมและมีน้ำหนัก เพื่อผ่อนแรงในการสับและมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ย้อนกลับไปที่จุดประสงค์เดิมคือต้องการ ตัด สับ หั่น เฉือน ปาด รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ต้องการและเงื่อนไขในการออกแบบที่ทำให้มีดถูกออกแบบมาใช้งานต่างกัน
Friday, March 2, 2007
My portfolio CD IV
สวัสดีครับ... ผม นาย สากล ภวานุรักษ์ ( แบต ) เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 / 2549 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขา ออกแบบนิเทศศิลป์ Blog นี้เป็นส่วนหนึ่งในวิชา communication design 4 เป็นการนำเสนอผลงานและการเรียนรู้ที่ผ่านมาตลอดหนึ่งเทอม ซึ่งอาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง แต่ก็เป็นวิธีที่ดีในการทดลองและเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยมีอาจารย์ที่ดีทั้ง 2 คน คอยแนะนำ ให้ความรู้ในมุมมองต่างๆ ถึงมันจะเข้าหัวบ้างหรือว่าไม่ แต่มันก็ทำให้ผมเข้าใจในงานออกแบบมากขึ้น ผมอาจจะไม่ใช่คนตั้งใจเรียนอะไรมากมาย แต่เวลาทำงานนั้น ผมก็ตั้งใจที่จะทำมันให้ดีที่สุด บางครั้งมันอาจจะออกมาไม่ดี+กับความขี้เกียจของผมบ้าง มันเลยยังออกมาไม่สุดในบางครั้ง เวลาอยู่ในห้องผมตั้งใจเรียนนะ แต่อาจจะมีวอกแวกไปบ้าง เคยครั้งนึงครับที่ผมหลับแล้วอาจารย์มาปลุกตอนเลิก ผมรู้สึกว่าโอ้! ทำไมผมหลับไปนานอย่างนี้ ผมยอมรับครับว่าวันนั้นไม่ไหวจริง ถ้าอาจารย์ติ๊ก ไม่ปลุกผมก็คงได้เฝ้าห้องเรียนไปแล้ว ขอบคุณครับกับคำแนะนนำดีๆในการทำงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีของนักออกแบบ ลองมาดูงานของผมกันนะครับ แล้วก็หวังไว้ว่าสักวันผมจะเป็นนักออกแบบคนนึงที่มีงาน typography ในแบบของตัวเอง
สุดท้ายนี้
สุดท้ายแล้วเย้ๆ
ผ่านมา 1 เทอมมีอะไรเข้าหัวผมเยอะเลยครับอาจารย์ จากที่แต่ก่อนไม่เคยคิดเยอะอะไรแบบนี้ก็ได้คิดอะไรมากมาย แล้วก็ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและชอบ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะมีเบื่อบ้าง เหนื่อยบ้าง หรือสนุกกับมันมาก ผมชอบนะกับสิ่งที่ได้ทำและเรียนมาในเทอมนี้ ผมไม่คิดว่าสุดท้ายงานจะออกมาเป็นแบบนี้ ผมว่าผมรู้นะว่าจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่ออนาคตของตัวผมเอง
ถ้าไม่มีอาจารย์ผมคงคิดอะไรไม่ได้เยอะเท่านี้ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ คำปรึกษาที่ดีๆ และอดทนกับพวกผม
ขอบคุณมากครับ
ผ่านมา 1 เทอมมีอะไรเข้าหัวผมเยอะเลยครับอาจารย์ จากที่แต่ก่อนไม่เคยคิดเยอะอะไรแบบนี้ก็ได้คิดอะไรมากมาย แล้วก็ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและชอบ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะมีเบื่อบ้าง เหนื่อยบ้าง หรือสนุกกับมันมาก ผมชอบนะกับสิ่งที่ได้ทำและเรียนมาในเทอมนี้ ผมไม่คิดว่าสุดท้ายงานจะออกมาเป็นแบบนี้ ผมว่าผมรู้นะว่าจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่ออนาคตของตัวผมเอง
ถ้าไม่มีอาจารย์ผมคงคิดอะไรไม่ได้เยอะเท่านี้ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ คำปรึกษาที่ดีๆ และอดทนกับพวกผม
ขอบคุณมากครับ
Final project present
และแล้วก็มาถึงวันนี้จนได้ กว่าจะถึงวันนี้ผมทั้งเบื่อ เหนื่อยและสนุกกับมัน เรียกได้ว่ามีทุกรสชาติ จากที่ present final ไปในครั้งที่แล้ว สิ่งที่ผมพูดไว้ว่าจะทำเป็นสี ผมลองทำแล้วแต่มันยากมาก+เหนื่อยด้วยครับแล้วก็กลัวที่จะทำไม่ทัน เลยจัดการนำ head ลงเข้ามาอยู่เนื้อของบทความให้มีความเป็น poster มาที่สุดแล้วก็มาเล่นกับระยะ ระยะใกล้สามารถอ่านได้อยู่ที่ประมาณ 1-2 m. ระยะกลางมองเห็นว่าเป็นตัวอักษรที่ 2-3 m. ระยะสุดท้ายระยะไกลเห็นเป็นภาพที่ 3 m. ขึ้นไป จากการที่ได้ทำมาผมมีความรู้สึกว่ามันคล้ายๆกับ pixel art ตรงที่เราทำงานกับหน่วยที่ย่อยที่สุด ผมหลงรักมันไปแล้วครับอาจารย์แล้วก็อยากจะทำต่อไปให้ดีขึ้นๆ ไปอีก
ระยะ 1-2 m. สามารถอ่านได้
ระยะ 2-3 m. เห็นเป็นตัวอักษร
ระยะ 3 m. ขึ้นไปเห็นเป็นภาพ
Final project
งาน final ของผมสรุปได้ว่าควรทำออกมาเป็น magazine แล้วถ้าจะทำให้เกิดภาพที่สวยงามจำนวนของตัวอักษรก็เป็นส่วนสำคัญ อาจารย์ก็แนะว่าลองทำบทสัมภาษณ์ดู หลังจากที่สรุปแล้วผมก็มาคิดดูว่าผมชอบการทำ contrast แบบไหนแล้วสิ่งที่ผมเลือกก็คือ การสร้าง contrast จากค่าความขัดแย้งของตัวอักษรในแต่ละชนิด, การ contrast จาก figure & ground ของตัวอักษรเอง และการทำตัวอักษรให้เป็นตัวหนา จากการที่พูดคุยกับอาจารย์ ป๋อง ว่ากันที่ใน magazine มีอะไรที่สามารถมาเล่นได้บ้าง แล้วผมก็เลือกบทสัมภาษณ์ของวงดรตรีวงหนึ่ง แล้วทำออกมาในรุปแบบ poster ที่แจกในหน้ากลางของ magazine ใน poster นั้นจะเป็นเนื้อหาบทสัมภาษณ์ของวง วงนั้น ทำให้แฟนเพลงหรือคนที่ชื่นชอบวงนี้ได้ทั้ง poster ติดห้องที่ไม่ใช่แค่ภาพเฉยๆ ยังมีเนื้อหาอีกด้วย ก็เลยได้ออกมาเป็นแบบนี้
นี่คืองานที่ present ไปในวันนั้น แล้วอาจารย์ ป๋อง ก็บอกว่าทำไม head ถึงออกไปอยู่แบบนั้นมันเลยไม่ค่อยเหมือน poster เท่าที่ควรจะเป็นเลย แล้วอาจารย์ว่า แล้ววัน final จะทำยังไงผมก็บอกไปว่าผมจะ print out ออกมาขนาดใหญ่แล้วก็กะว่าจะทำเป็นสีแล้วใช้ระยะห่างเป็นตัว present งานว่าระยะไหนเห็นเป็นอย่างไร
นี่คืองานที่ present ไปในวันนั้น แล้วอาจารย์ ป๋อง ก็บอกว่าทำไม head ถึงออกไปอยู่แบบนั้นมันเลยไม่ค่อยเหมือน poster เท่าที่ควรจะเป็นเลย แล้วอาจารย์ว่า แล้ววัน final จะทำยังไงผมก็บอกไปว่าผมจะ print out ออกมาขนาดใหญ่แล้วก็กะว่าจะทำเป็นสีแล้วใช้ระยะห่างเป็นตัว present งานว่าระยะไหนเห็นเป็นอย่างไร
Experiment Design
จากการที่ศึกษาการ Contrast ของ font มาพอสมควร ก็พอจะสรุปได้ว่าการที่จะทำให้ contrast ทำให้เกิดขึ้นได้หลายวิธี
เมื่อจัดลงไปในรูปแบบของหน้ากระดาษ Magazine. สิ่งที่เกิดขึ้นความแปลกตา แปลกใหม่ไปจาก magazine ที่มีอยู่ธรรมดาทั่วไปและสามารถเพิ่มความน่าสนใจ
Contrast นั้นทำให้เกิด ถาพได้,texture ผมเลยนำความรู้ที่ได้ศึกษามานำมาจัดการในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะนำเสนออกมาในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เห็นถึงการใช้งานของมัน
เริ่มแรกด้วยการ contrast ทำให้เกิด texture
ต่อมาคือเมื่อเกิด contrast ก็สามารถทำให้เกิดภาพได้
นำ contrast ที่ทดลองมาใช้ใน poster
หลังจากผมซ้อมรบก็แล้วกระสุนจริงก็แล้วอาจารย์ก็บอกว่าให้หาสนามรบจริงๆได้แล้ว วิธีการที่จะทำนั้นมีหมดแล้วเหลือแค่เลือกสนามรบให้มัน ก็เลยมาลงเอยที่ magazine อาจารย์จะรุ้ว่าถ้า magazine ไม่มีรูปภาพเลยจะเป็นยังไงแล้วก็ยังอ่านรู้เรื่องรวมไปถึงการจัดการกับคอลั่มต่างๆในหนึ่งหน้า magazine ผมก็เลยลองทำให้ออกมาเป็นทั้งภาพและยังอ่านได้ ด้วยวิธีการที่ได้ศึกษาและเรียนรู้มา เรามาดูกันเลยครับว่าจะเป็นยังไง
การจัดการในแต่ละเนื้อเรื่อง
เมื่อจัดลงไปในรูปแบบของหน้ากระดาษ Magazine. สิ่งที่เกิดขึ้นความแปลกตา แปลกใหม่ไปจาก magazine ที่มีอยู่ธรรมดาทั่วไปและสามารถเพิ่มความน่าสนใจ
เลยออกมาเป็นงานออกแบบ 1 ชุด
Experiment
เป็นงานเกี่ยวกับการทดลอง ตอนแรกผมก็คิดไม่ออกว่าจะเอาอะไรมาทดลองเลยเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวก่อนคือ การเดินทางระหว่าง บ้านผมถึงมหาวิทยาลัย ผมจึงนำความคิดนั้นมาทำให้เป็นรูปร่าง โดยการใช้แผนที่เป็นตัวกำหนดแล้วเริ่มลากเส้นจากบ้านจนมาถึงมหาวิทยาลัย แล้วก็จะนำเส้นที่ได้นั้นมาประดิษฐ์ เป็น ตัวอักษรภาษาอังกฤษซัก 1 ชุด แต่พอนำไปเสนอกับอาจารย์ สรุปว่ามันไมค่อยจะ work เท่าไหร่เพราะมันเป็นการกำหนดที่ค่อนข้างยากที่จะหาความถูกต้อง
ผมเลยกลับมามองตัวเองอีกครั้งว่าตัวเองสนใจอะไรจริงๆ แล้วผมก็รู้ว่าผมชอบในตัวอักษร เลยลองมาคิดดูว่าเราทำอะไรกับมันได้บ้าง ก็บังเอิญได้ไปเจอกับคำว่า Contrast ผมก็เริ่มสงสัยว่า Contrast ของ Typography นั้นมันเป็นอย่างไร มีคุณค่าในการออกแบบตัวอักษรอย่างไรแล้วก็มีอีกประโยคที่อาจารยืบอกคือ ทำ ทำ แล้วก็ทำ และผมก็ได้เข้าใจว่า contrast ของตัวอักษรนั้นเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ หลายแบบ เช่น contrast ระหว่าง figure& ground ในตัวอักษรเอง,contrast ระหว่างชนิดของ type face, contrast ที่เกิดขึ้นจากตัวของ type face เอง และการใช้ร่วมกันระหว่าง type face
ผมเลยตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า
1 .การจัดตัวอักษร 1 ย่อหน้า โดยใช้ 2 type face ให้เกิด contrast ของ font มากที่สุด
2.การเปลี่ยนชนิดตัวอักษรที่ต่างกัน เฉพาะ AEIOU
3.การเปลี่ยนชนิดตัวอักษรเฉพาะตัวนำ
4.การเปลี่ยนชนิดของตัวอักษรในแต่ละคำและการเน้นข้อความบางข้อความ
ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิด contrast ได้มากขึ้นดังนี้
-การเพิ่มลดค่าน้ำหนักของตัวอักษร
-การเพิ่มลดขนาดของตัวอักษร
-การทับซ้อนกันของตัวอักษร
เราลองมาดูงานทดลองกันเลยนะครับ
การค้นคว้าศิลปิน David Carson
ประวัติและรายละเอียดเกี่ยวกับตัว David Carson เข้าไปดูได้ที่นี่http://http://en.wikipedia.org/wiki/David_Carson_(graphic_designer)
ตัวอย่างงานของ David Carson
ประวัติและรายละเอียดเกี่ยวกับตัว David Carson เข้าไปดูได้ที่นี่http://http://en.wikipedia.org/wiki/David_Carson_(graphic_designer)
ตัวอย่างงานของ David Carson
David Carson เป็นศิลปินในยุค Postmodernism เราลองมาทำความรู้จักกับยุคนั้นกันเลยนะครับ
โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ลัทธิหลังสมัยใหม่Postmodernismมีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใดเป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ "อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน" (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง"สำนึก" ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็วลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" ชัดเจนขึ้น"หลังสมัยใหม่" เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน "ความเป็นสมัยใหม่" หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน "ความเจริญ" หรือ "ความก้าวหน้า" แบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความคิดเกี่ยวกับลัทธิ "สมัยใหม่" ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ "หลังสมัยใหม่" มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ "ศิลปะกระแสหลัก" ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดูการมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ "คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์" (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ "หลังสมัยใหม่" เอาไว้ว่า "คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น "ลูกผสม" แทนที่จะ "บริสุทธิ์", "ประนีประนอม" แทนที่จะ "สะอาดหมดจด", "คลุมเครือ" แทนที่จะ "จะแจ้ง", "วิปริต" พอๆกับที่ "น่าสนใจ"ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า "หยิบยืมมาใช้" (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้างในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ "หลังสมัยใหม่" ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในกระแสศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ ในตะวันตกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ นิทรรศการศิลปกรรมย้อนหลัง สำหรับศิลปินที่ดังตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อศิลปินในการที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างการ "ประสบความสำเร็จในอาชีพศิลปิน" กับ "อุดมการณ์ทางศิลปะ" ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับศิลปินในลัทธิสมัยใหม่เลยPostmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ลัทธิหลังสมัยใหม่Postmodernismมีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใดเป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ "อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน" (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง"สำนึก" ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็วลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" ชัดเจนขึ้น"หลังสมัยใหม่" เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน "ความเป็นสมัยใหม่" หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน "ความเจริญ" หรือ "ความก้าวหน้า" แบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความคิดเกี่ยวกับลัทธิ "สมัยใหม่" ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ "หลังสมัยใหม่" มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ "ศิลปะกระแสหลัก" ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดูการมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ "คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์" (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ "หลังสมัยใหม่" เอาไว้ว่า "คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น "ลูกผสม" แทนที่จะ "บริสุทธิ์", "ประนีประนอม" แทนที่จะ "สะอาดหมดจด", "คลุมเครือ" แทนที่จะ "จะแจ้ง", "วิปริต" พอๆกับที่ "น่าสนใจ"ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า "หยิบยืมมาใช้" (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้างในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ "หลังสมัยใหม่" ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในกระแสศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ ในตะวันตกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ นิทรรศการศิลปกรรมย้อนหลัง สำหรับศิลปินที่ดังตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อศิลปินในการที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างการ "ประสบความสำเร็จในอาชีพศิลปิน" กับ "อุดมการณ์ทางศิลปะ" ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับศิลปินในลัทธิสมัยใหม่เลยPostmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
การที่ได้ศึกษางานของ David Carson ที่ตอนแรกคิดว่าเป็นแค่การวางทำซ้อนๆ กันไปแบบไม่มีอะไรแต่จริงๆ แล้ว David Carson ได้ทำการ Derconstruction ใหม่ทั้งหมดและได้คิดออกแบบวิธีใหม่ๆในการจัดการกับ Typography ที่เป็นวิธีที่แปลกและสวยงาม
จากทั้งหมดทำให้ได้รู้จักกับ 2 คำที่น่าสนใจมากและมีประโยชน์ต่องานออกแบบ
Readability (ความสามารถในการอ่าน) การออกแบบข้อความต้องคํานึงถึง - ภาษา และศัพท์ ที่ใช้ เหมาะสมกับระดับการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย - เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย
จากทั้งหมดทำให้ได้รู้จักกับ 2 คำที่น่าสนใจมากและมีประโยชน์ต่องานออกแบบ
Readability (ความสามารถในการอ่าน) การออกแบบข้อความต้องคํานึงถึง - ภาษา และศัพท์ ที่ใช้ เหมาะสมกับระดับการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย - เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย
Legibility (ความยากง่ายในการอ่าน) ขึ้นอยู กับ - แบบตัวหนังสือ เช่น Angsana UPC JsToomtam - ขนาดตัวหนังสือ - ชนิดของตัวหนังสือ เช่น ตัวหนา ตัวปกติ ตัวเอน - ความยาวของบรรทัด - ช่องว่างระหว่างบรรทัด - การจัดซ้ายขวา
Subscribe to:
Posts (Atom)