สวัสดีครับ... ผม นาย สากล ภวานุรักษ์ ( แบต ) เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 / 2549 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขา ออกแบบนิเทศศิลป์ Blog นี้เป็นส่วนหนึ่งในวิชา communication design 4 เป็นการนำเสนอผลงานและการเรียนรู้ที่ผ่านมาตลอดหนึ่งเทอม ซึ่งอาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง แต่ก็เป็นวิธีที่ดีในการทดลองและเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยมีอาจารย์ที่ดีทั้ง 2 คน คอยแนะนำ ให้ความรู้ในมุมมองต่างๆ ถึงมันจะเข้าหัวบ้างหรือว่าไม่ แต่มันก็ทำให้ผมเข้าใจในงานออกแบบมากขึ้น ผมอาจจะไม่ใช่คนตั้งใจเรียนอะไรมากมาย แต่เวลาทำงานนั้น ผมก็ตั้งใจที่จะทำมันให้ดีที่สุด บางครั้งมันอาจจะออกมาไม่ดี+กับความขี้เกียจของผมบ้าง มันเลยยังออกมาไม่สุดในบางครั้ง เวลาอยู่ในห้องผมตั้งใจเรียนนะ แต่อาจจะมีวอกแวกไปบ้าง เคยครั้งนึงครับที่ผมหลับแล้วอาจารย์มาปลุกตอนเลิก ผมรู้สึกว่าโอ้! ทำไมผมหลับไปนานอย่างนี้ ผมยอมรับครับว่าวันนั้นไม่ไหวจริง ถ้าอาจารย์ติ๊ก ไม่ปลุกผมก็คงได้เฝ้าห้องเรียนไปแล้ว ขอบคุณครับกับคำแนะนนำดีๆในการทำงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีของนักออกแบบ ลองมาดูงานของผมกันนะครับ แล้วก็หวังไว้ว่าสักวันผมจะเป็นนักออกแบบคนนึงที่มีงาน typography ในแบบของตัวเอง
Friday, March 2, 2007
สุดท้ายนี้
สุดท้ายแล้วเย้ๆ
ผ่านมา 1 เทอมมีอะไรเข้าหัวผมเยอะเลยครับอาจารย์ จากที่แต่ก่อนไม่เคยคิดเยอะอะไรแบบนี้ก็ได้คิดอะไรมากมาย แล้วก็ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและชอบ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะมีเบื่อบ้าง เหนื่อยบ้าง หรือสนุกกับมันมาก ผมชอบนะกับสิ่งที่ได้ทำและเรียนมาในเทอมนี้ ผมไม่คิดว่าสุดท้ายงานจะออกมาเป็นแบบนี้ ผมว่าผมรู้นะว่าจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่ออนาคตของตัวผมเอง
ถ้าไม่มีอาจารย์ผมคงคิดอะไรไม่ได้เยอะเท่านี้ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ คำปรึกษาที่ดีๆ และอดทนกับพวกผม
ขอบคุณมากครับ
ผ่านมา 1 เทอมมีอะไรเข้าหัวผมเยอะเลยครับอาจารย์ จากที่แต่ก่อนไม่เคยคิดเยอะอะไรแบบนี้ก็ได้คิดอะไรมากมาย แล้วก็ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและชอบ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะมีเบื่อบ้าง เหนื่อยบ้าง หรือสนุกกับมันมาก ผมชอบนะกับสิ่งที่ได้ทำและเรียนมาในเทอมนี้ ผมไม่คิดว่าสุดท้ายงานจะออกมาเป็นแบบนี้ ผมว่าผมรู้นะว่าจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่ออนาคตของตัวผมเอง
ถ้าไม่มีอาจารย์ผมคงคิดอะไรไม่ได้เยอะเท่านี้ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ คำปรึกษาที่ดีๆ และอดทนกับพวกผม
ขอบคุณมากครับ
Final project present
และแล้วก็มาถึงวันนี้จนได้ กว่าจะถึงวันนี้ผมทั้งเบื่อ เหนื่อยและสนุกกับมัน เรียกได้ว่ามีทุกรสชาติ จากที่ present final ไปในครั้งที่แล้ว สิ่งที่ผมพูดไว้ว่าจะทำเป็นสี ผมลองทำแล้วแต่มันยากมาก+เหนื่อยด้วยครับแล้วก็กลัวที่จะทำไม่ทัน เลยจัดการนำ head ลงเข้ามาอยู่เนื้อของบทความให้มีความเป็น poster มาที่สุดแล้วก็มาเล่นกับระยะ ระยะใกล้สามารถอ่านได้อยู่ที่ประมาณ 1-2 m. ระยะกลางมองเห็นว่าเป็นตัวอักษรที่ 2-3 m. ระยะสุดท้ายระยะไกลเห็นเป็นภาพที่ 3 m. ขึ้นไป จากการที่ได้ทำมาผมมีความรู้สึกว่ามันคล้ายๆกับ pixel art ตรงที่เราทำงานกับหน่วยที่ย่อยที่สุด ผมหลงรักมันไปแล้วครับอาจารย์แล้วก็อยากจะทำต่อไปให้ดีขึ้นๆ ไปอีก
ระยะ 1-2 m. สามารถอ่านได้
ระยะ 2-3 m. เห็นเป็นตัวอักษร
ระยะ 3 m. ขึ้นไปเห็นเป็นภาพ
Final project
งาน final ของผมสรุปได้ว่าควรทำออกมาเป็น magazine แล้วถ้าจะทำให้เกิดภาพที่สวยงามจำนวนของตัวอักษรก็เป็นส่วนสำคัญ อาจารย์ก็แนะว่าลองทำบทสัมภาษณ์ดู หลังจากที่สรุปแล้วผมก็มาคิดดูว่าผมชอบการทำ contrast แบบไหนแล้วสิ่งที่ผมเลือกก็คือ การสร้าง contrast จากค่าความขัดแย้งของตัวอักษรในแต่ละชนิด, การ contrast จาก figure & ground ของตัวอักษรเอง และการทำตัวอักษรให้เป็นตัวหนา จากการที่พูดคุยกับอาจารย์ ป๋อง ว่ากันที่ใน magazine มีอะไรที่สามารถมาเล่นได้บ้าง แล้วผมก็เลือกบทสัมภาษณ์ของวงดรตรีวงหนึ่ง แล้วทำออกมาในรุปแบบ poster ที่แจกในหน้ากลางของ magazine ใน poster นั้นจะเป็นเนื้อหาบทสัมภาษณ์ของวง วงนั้น ทำให้แฟนเพลงหรือคนที่ชื่นชอบวงนี้ได้ทั้ง poster ติดห้องที่ไม่ใช่แค่ภาพเฉยๆ ยังมีเนื้อหาอีกด้วย ก็เลยได้ออกมาเป็นแบบนี้
นี่คืองานที่ present ไปในวันนั้น แล้วอาจารย์ ป๋อง ก็บอกว่าทำไม head ถึงออกไปอยู่แบบนั้นมันเลยไม่ค่อยเหมือน poster เท่าที่ควรจะเป็นเลย แล้วอาจารย์ว่า แล้ววัน final จะทำยังไงผมก็บอกไปว่าผมจะ print out ออกมาขนาดใหญ่แล้วก็กะว่าจะทำเป็นสีแล้วใช้ระยะห่างเป็นตัว present งานว่าระยะไหนเห็นเป็นอย่างไร
นี่คืองานที่ present ไปในวันนั้น แล้วอาจารย์ ป๋อง ก็บอกว่าทำไม head ถึงออกไปอยู่แบบนั้นมันเลยไม่ค่อยเหมือน poster เท่าที่ควรจะเป็นเลย แล้วอาจารย์ว่า แล้ววัน final จะทำยังไงผมก็บอกไปว่าผมจะ print out ออกมาขนาดใหญ่แล้วก็กะว่าจะทำเป็นสีแล้วใช้ระยะห่างเป็นตัว present งานว่าระยะไหนเห็นเป็นอย่างไร
Experiment Design
จากการที่ศึกษาการ Contrast ของ font มาพอสมควร ก็พอจะสรุปได้ว่าการที่จะทำให้ contrast ทำให้เกิดขึ้นได้หลายวิธี
เมื่อจัดลงไปในรูปแบบของหน้ากระดาษ Magazine. สิ่งที่เกิดขึ้นความแปลกตา แปลกใหม่ไปจาก magazine ที่มีอยู่ธรรมดาทั่วไปและสามารถเพิ่มความน่าสนใจ
Contrast นั้นทำให้เกิด ถาพได้,texture ผมเลยนำความรู้ที่ได้ศึกษามานำมาจัดการในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะนำเสนออกมาในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เห็นถึงการใช้งานของมัน
เริ่มแรกด้วยการ contrast ทำให้เกิด texture
ต่อมาคือเมื่อเกิด contrast ก็สามารถทำให้เกิดภาพได้
นำ contrast ที่ทดลองมาใช้ใน poster
หลังจากผมซ้อมรบก็แล้วกระสุนจริงก็แล้วอาจารย์ก็บอกว่าให้หาสนามรบจริงๆได้แล้ว วิธีการที่จะทำนั้นมีหมดแล้วเหลือแค่เลือกสนามรบให้มัน ก็เลยมาลงเอยที่ magazine อาจารย์จะรุ้ว่าถ้า magazine ไม่มีรูปภาพเลยจะเป็นยังไงแล้วก็ยังอ่านรู้เรื่องรวมไปถึงการจัดการกับคอลั่มต่างๆในหนึ่งหน้า magazine ผมก็เลยลองทำให้ออกมาเป็นทั้งภาพและยังอ่านได้ ด้วยวิธีการที่ได้ศึกษาและเรียนรู้มา เรามาดูกันเลยครับว่าจะเป็นยังไง
การจัดการในแต่ละเนื้อเรื่อง
เมื่อจัดลงไปในรูปแบบของหน้ากระดาษ Magazine. สิ่งที่เกิดขึ้นความแปลกตา แปลกใหม่ไปจาก magazine ที่มีอยู่ธรรมดาทั่วไปและสามารถเพิ่มความน่าสนใจ
เลยออกมาเป็นงานออกแบบ 1 ชุด
Experiment
เป็นงานเกี่ยวกับการทดลอง ตอนแรกผมก็คิดไม่ออกว่าจะเอาอะไรมาทดลองเลยเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวก่อนคือ การเดินทางระหว่าง บ้านผมถึงมหาวิทยาลัย ผมจึงนำความคิดนั้นมาทำให้เป็นรูปร่าง โดยการใช้แผนที่เป็นตัวกำหนดแล้วเริ่มลากเส้นจากบ้านจนมาถึงมหาวิทยาลัย แล้วก็จะนำเส้นที่ได้นั้นมาประดิษฐ์ เป็น ตัวอักษรภาษาอังกฤษซัก 1 ชุด แต่พอนำไปเสนอกับอาจารย์ สรุปว่ามันไมค่อยจะ work เท่าไหร่เพราะมันเป็นการกำหนดที่ค่อนข้างยากที่จะหาความถูกต้อง
ผมเลยกลับมามองตัวเองอีกครั้งว่าตัวเองสนใจอะไรจริงๆ แล้วผมก็รู้ว่าผมชอบในตัวอักษร เลยลองมาคิดดูว่าเราทำอะไรกับมันได้บ้าง ก็บังเอิญได้ไปเจอกับคำว่า Contrast ผมก็เริ่มสงสัยว่า Contrast ของ Typography นั้นมันเป็นอย่างไร มีคุณค่าในการออกแบบตัวอักษรอย่างไรแล้วก็มีอีกประโยคที่อาจารยืบอกคือ ทำ ทำ แล้วก็ทำ และผมก็ได้เข้าใจว่า contrast ของตัวอักษรนั้นเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ หลายแบบ เช่น contrast ระหว่าง figure& ground ในตัวอักษรเอง,contrast ระหว่างชนิดของ type face, contrast ที่เกิดขึ้นจากตัวของ type face เอง และการใช้ร่วมกันระหว่าง type face
ผมเลยตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า
1 .การจัดตัวอักษร 1 ย่อหน้า โดยใช้ 2 type face ให้เกิด contrast ของ font มากที่สุด
2.การเปลี่ยนชนิดตัวอักษรที่ต่างกัน เฉพาะ AEIOU
3.การเปลี่ยนชนิดตัวอักษรเฉพาะตัวนำ
4.การเปลี่ยนชนิดของตัวอักษรในแต่ละคำและการเน้นข้อความบางข้อความ
ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิด contrast ได้มากขึ้นดังนี้
-การเพิ่มลดค่าน้ำหนักของตัวอักษร
-การเพิ่มลดขนาดของตัวอักษร
-การทับซ้อนกันของตัวอักษร
เราลองมาดูงานทดลองกันเลยนะครับ
การค้นคว้าศิลปิน David Carson
ประวัติและรายละเอียดเกี่ยวกับตัว David Carson เข้าไปดูได้ที่นี่http://http://en.wikipedia.org/wiki/David_Carson_(graphic_designer)
ตัวอย่างงานของ David Carson
ประวัติและรายละเอียดเกี่ยวกับตัว David Carson เข้าไปดูได้ที่นี่http://http://en.wikipedia.org/wiki/David_Carson_(graphic_designer)
ตัวอย่างงานของ David Carson
David Carson เป็นศิลปินในยุค Postmodernism เราลองมาทำความรู้จักกับยุคนั้นกันเลยนะครับ
โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ลัทธิหลังสมัยใหม่Postmodernismมีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใดเป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ "อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน" (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง"สำนึก" ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็วลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" ชัดเจนขึ้น"หลังสมัยใหม่" เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน "ความเป็นสมัยใหม่" หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน "ความเจริญ" หรือ "ความก้าวหน้า" แบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความคิดเกี่ยวกับลัทธิ "สมัยใหม่" ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ "หลังสมัยใหม่" มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ "ศิลปะกระแสหลัก" ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดูการมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ "คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์" (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ "หลังสมัยใหม่" เอาไว้ว่า "คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น "ลูกผสม" แทนที่จะ "บริสุทธิ์", "ประนีประนอม" แทนที่จะ "สะอาดหมดจด", "คลุมเครือ" แทนที่จะ "จะแจ้ง", "วิปริต" พอๆกับที่ "น่าสนใจ"ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า "หยิบยืมมาใช้" (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้างในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ "หลังสมัยใหม่" ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในกระแสศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ ในตะวันตกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ นิทรรศการศิลปกรรมย้อนหลัง สำหรับศิลปินที่ดังตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อศิลปินในการที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างการ "ประสบความสำเร็จในอาชีพศิลปิน" กับ "อุดมการณ์ทางศิลปะ" ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับศิลปินในลัทธิสมัยใหม่เลยPostmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ลัทธิหลังสมัยใหม่Postmodernismมีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใดเป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ "อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน" (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง"สำนึก" ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็วลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" ชัดเจนขึ้น"หลังสมัยใหม่" เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน "ความเป็นสมัยใหม่" หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน "ความเจริญ" หรือ "ความก้าวหน้า" แบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความคิดเกี่ยวกับลัทธิ "สมัยใหม่" ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ "หลังสมัยใหม่" มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ "ศิลปะกระแสหลัก" ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดูการมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ "คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์" (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ "หลังสมัยใหม่" เอาไว้ว่า "คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น "ลูกผสม" แทนที่จะ "บริสุทธิ์", "ประนีประนอม" แทนที่จะ "สะอาดหมดจด", "คลุมเครือ" แทนที่จะ "จะแจ้ง", "วิปริต" พอๆกับที่ "น่าสนใจ"ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า "หยิบยืมมาใช้" (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้างในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ "หลังสมัยใหม่" ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในกระแสศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ ในตะวันตกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ นิทรรศการศิลปกรรมย้อนหลัง สำหรับศิลปินที่ดังตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อศิลปินในการที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างการ "ประสบความสำเร็จในอาชีพศิลปิน" กับ "อุดมการณ์ทางศิลปะ" ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับศิลปินในลัทธิสมัยใหม่เลยPostmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
การที่ได้ศึกษางานของ David Carson ที่ตอนแรกคิดว่าเป็นแค่การวางทำซ้อนๆ กันไปแบบไม่มีอะไรแต่จริงๆ แล้ว David Carson ได้ทำการ Derconstruction ใหม่ทั้งหมดและได้คิดออกแบบวิธีใหม่ๆในการจัดการกับ Typography ที่เป็นวิธีที่แปลกและสวยงาม
จากทั้งหมดทำให้ได้รู้จักกับ 2 คำที่น่าสนใจมากและมีประโยชน์ต่องานออกแบบ
Readability (ความสามารถในการอ่าน) การออกแบบข้อความต้องคํานึงถึง - ภาษา และศัพท์ ที่ใช้ เหมาะสมกับระดับการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย - เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย
จากทั้งหมดทำให้ได้รู้จักกับ 2 คำที่น่าสนใจมากและมีประโยชน์ต่องานออกแบบ
Readability (ความสามารถในการอ่าน) การออกแบบข้อความต้องคํานึงถึง - ภาษา และศัพท์ ที่ใช้ เหมาะสมกับระดับการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย - เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย
Legibility (ความยากง่ายในการอ่าน) ขึ้นอยู กับ - แบบตัวหนังสือ เช่น Angsana UPC JsToomtam - ขนาดตัวหนังสือ - ชนิดของตัวหนังสือ เช่น ตัวหนา ตัวปกติ ตัวเอน - ความยาวของบรรทัด - ช่องว่างระหว่างบรรทัด - การจัดซ้ายขวา
Subscribe to:
Posts (Atom)